- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 11-17 ตุลาคม 2562
ข้าว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริม
การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุด และได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ จะประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงทุกๆ 15 วัน จนถึงวันสิ้นสุดการใช้สิทธิตามโครงการประกันรายได้ฯ โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่
1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 16,063 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,405 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.08
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,001 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,835 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.12
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 36,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,400 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,450 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.43
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,226 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,946 บาท/ตัน) ราคา
ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 19 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 422 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,717 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 425 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,814 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 97 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 416 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,536 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,663 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 127 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 418 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,597 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 425 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,814 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.64 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 217 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.1357
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับขึ้นสูงสุดในรอบ 2 เดือน เนื่องจากมีความต้องการข้าวจากประเทศ
ในแถบแอฟริกาเข้ามากระตุ้นตลาด โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 350 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก
ตันละ 330-340 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (โดยก่อนหน้านี้ราคาข้าวปรับลดต่ำสุดในรอบกว่า 12 ปี อยู่ที่ตันละ 325 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2562)
วงการค้ารายงานว่า ระหว่างวันที่ 1-20 ตุลาคม 2562 คาดว่าจะมีการขนถ่ายสินค้าข้าวขึ้นเรือเพื่อส่งไปยังประเทศปลายทาง ประมาณ 70,600 ตัน ซึ่งส่วนใหญ่จะไปยังประเทศในแถบแอฟริกาและบางส่วนไปยังประเทศมาเลเซีย ขณะที่แหล่งข่าววงการค้าระบุว่า ประเทศในแถบแอฟริกามีความต้องการข้าวหอมจากเวียดนามมากขึ้น
กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (the Ministry of Agriculture and Rural Development; MARD) ระบุว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 เวียดนามส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น แต่มูลค่ากลับลดลง โดยการส่งออกข้าวปริมาณ 5.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 มูลค่า 2,240 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 โดยในเดือนกันยายน 2562 เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 586,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 251
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 ฟิลิปปินส์เป็นตลาดนำเข้าข้าวเวียดนามอันดับหนึ่ง ปริมาณ 1.76 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2.9 เท่า และมูลค่า 720 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.6 เท่า จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ตลาดอื่นๆ ที่มีการเติบโตสูง ได้แก่ ออสเตรเลีย (ร้อยละ 75) โกตดิวัวร์ (ร้อยละ 35) และฮ่องกง (ร้อยละ 35) สำหรับราคาข้าว เฉลี่ยในช่วง 8 เดือนแรกอยู่ที่ตันละ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวขาวมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 47 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด รองลงมา คือ ข้าวหอมร้อยละ 39.8
กรมแปรรูปสินค้าเกษตรและพัฒนาตลาด (AgroTrade) ภายใต้ MARD ระบุว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์วางแผนที่จะใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีในรูปแบบต่างๆ เพื่อปรับการนำเข้าข้าว ขณะเดียวกันกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ ได้เสนอ
ให้มีการใช้ภาษีปกป้องการนำเข้าข้าวที่เพิ่มขึ้นในอัตราระหว่างร้อยละ 30-65 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังฟิลิปปินส์ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ตลาดญี่ปุ่นกำลังพิจารณาที่จะเปลี่ยนการนำเข้าข้าวจากสหรัฐอเมริกาไปยังประเทศที่เป็น สมาชิกของความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ซึ่งรวมถึง เวียดนามด้วย นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังแสดงความสนใจข้าวจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เวียดนาม
กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม ระบุว่าในระยะยาวเวียดนามวางแผนที่จะเปลี่ยนจากการ เพาะปลูกข้าวมาเป็นพืชชนิดอื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า นอกจากนี้ ยังกำหนดเป้าหมายที่จะขยายตลาดส่งออก
ไปยังแอฟริกา และตะวันออกกลาง รวมถึงตลาดระดับภูมิภาค เช่น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
เมียนมาร์
สมาพันธ์ข้าวแห่งเมียนมาร์ (Myanmar Rice Federation; MRF) รายงานว่า ในช่วง 11 เดือน (1 ตุลาคม 2561-31 สิงหาคม 2562) ของปีงบประมาณปัจจุบัน (ตุลาคม 2561-กันยายน 2562) เมียนมาร์ส่งออกข้าว (ข้าวสารและข้าวหัก) ประมาณ 2.29 ล้านตัน มูลค่า 691 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งชนิดข้าวที่มีการส่งออก ประกอบด้วย ข้าวสาร 1.792 ล้านตัน มูลค่า 559.894 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่งไปยัง 65 ประเทศ และข้าวหัก ประมาณ 498,000 ตัน มูลค่า 132.139 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่งไปยัง 41 ประเทศ
ทั้งนี้ เมียนมาร์ส่งออกข้าวผ่านทางท่าเรือ ประมาณร้อยละ 73 โดยมีมูลค่าส่งออกทั้งข้าวสารและข้าวหักผ่านทางท่าเรือประมาณ 503.859 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการส่งข้าวผ่านทางชายแดนทางตอนเหนือของประเทศ ไปยังประเทศจีน มีมูลค่าประมาณ 187.174 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สำหรับประเทศที่นำเข้าข้าวนั้น เมียนมาร์ส่งออกข้าวสาร และข้าวหักไปยังประเทศจีน ประมาณ 738,500 ตัน และประมาณ 38,000 ตัน ตามลำดับ รวมคิดเป็นร้อยละ 33.88 ของการส่งออกข้าวของเมียนมาร์ทั้งหมด รองลงมาเป็นประเทศในแถบแอฟริกา (ข้าวสารและข้าวหัก) ประมาณ 554,000 ตัน ประเทศในสหภาพยุโรป (ข้าวสารและข้าวหัก) ประมาณ 481,500 ตัน ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 479,000 ตัน ส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2560/61 เมียนมาร์ส่งออกข้าวประมาณ 3.6 ล้านตัน ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 50 ปี
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
เปรู
รัฐบาลเปรูปรับราคาอ้างอิง (reference prices) และอัตราภาษีนำเข้า (additional variable duties for imports) ของสินค้าข้าว ข้าวโพด น้ำตาล และนมผง (whole milk powder) โดยในส่วนของข้าวปรับราคาอ้างอิงเป็น 528 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน และปรับอัตราภาษีนำเข้าข้าวเปลือกและข้าวสาร (The additional variable duty for paddy rice and milled rice) เป็น 59 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน และ 84 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ตามลำดับ ขณะที่ข้าวโพดปรับราคาอ้างอิงเป็น 158 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน และปรับอัตราภาษีนำเข้าเป็น 12 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน โดยราคาอ้างอิง (reference prices) ดังกล่าวมาจากการสำรวจราคาระหว่างวันที่ 1-31 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา และมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริม
การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว | ราคาประกันรายได้ | ครัวเรือนละไม่เกิน |
(บาท/ตัน) | (ตัน) | |
ข้าวเปลือกหอมมะลิ | 15,000 | 14 |
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ | 14,000 | 16 |
ข้าวเปลือกเจ้า | 10,000 | 30 |
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี | 11,000 | 25 |
ข้าวเปลือกเหนียว | 12,000 | 16 |
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุด และได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ จะประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงทุกๆ 15 วัน จนถึงวันสิ้นสุดการใช้สิทธิตามโครงการประกันรายได้ฯ โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่
1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 16,063 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,405 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.08
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 8,001 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,835 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.12
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 36,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,400 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,450 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.43
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,226 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,946 บาท/ตัน) ราคา
ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 19 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 422 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,717 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 425 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,814 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 97 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 416 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,536 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,663 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 127 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 418 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,597 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 425 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,814 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.64 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 217 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.1357
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับขึ้นสูงสุดในรอบ 2 เดือน เนื่องจากมีความต้องการข้าวจากประเทศ
ในแถบแอฟริกาเข้ามากระตุ้นตลาด โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ตันละ 350 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก
ตันละ 330-340 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (โดยก่อนหน้านี้ราคาข้าวปรับลดต่ำสุดในรอบกว่า 12 ปี อยู่ที่ตันละ 325 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2562)
วงการค้ารายงานว่า ระหว่างวันที่ 1-20 ตุลาคม 2562 คาดว่าจะมีการขนถ่ายสินค้าข้าวขึ้นเรือเพื่อส่งไปยังประเทศปลายทาง ประมาณ 70,600 ตัน ซึ่งส่วนใหญ่จะไปยังประเทศในแถบแอฟริกาและบางส่วนไปยังประเทศมาเลเซีย ขณะที่แหล่งข่าววงการค้าระบุว่า ประเทศในแถบแอฟริกามีความต้องการข้าวหอมจากเวียดนามมากขึ้น
กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (the Ministry of Agriculture and Rural Development; MARD) ระบุว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 เวียดนามส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น แต่มูลค่ากลับลดลง โดยการส่งออกข้าวปริมาณ 5.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 มูลค่า 2,240 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 โดยในเดือนกันยายน 2562 เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 586,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 251
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 ฟิลิปปินส์เป็นตลาดนำเข้าข้าวเวียดนามอันดับหนึ่ง ปริมาณ 1.76 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2.9 เท่า และมูลค่า 720 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.6 เท่า จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ตลาดอื่นๆ ที่มีการเติบโตสูง ได้แก่ ออสเตรเลีย (ร้อยละ 75) โกตดิวัวร์ (ร้อยละ 35) และฮ่องกง (ร้อยละ 35) สำหรับราคาข้าว เฉลี่ยในช่วง 8 เดือนแรกอยู่ที่ตันละ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีที่ผ่านมา เวียดนามส่งออกข้าวขาวมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 47 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด รองลงมา คือ ข้าวหอมร้อยละ 39.8
กรมแปรรูปสินค้าเกษตรและพัฒนาตลาด (AgroTrade) ภายใต้ MARD ระบุว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์วางแผนที่จะใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีในรูปแบบต่างๆ เพื่อปรับการนำเข้าข้าว ขณะเดียวกันกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ ได้เสนอ
ให้มีการใช้ภาษีปกป้องการนำเข้าข้าวที่เพิ่มขึ้นในอัตราระหว่างร้อยละ 30-65 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกข้าวของเวียดนามไปยังฟิลิปปินส์ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ตลาดญี่ปุ่นกำลังพิจารณาที่จะเปลี่ยนการนำเข้าข้าวจากสหรัฐอเมริกาไปยังประเทศที่เป็น สมาชิกของความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ซึ่งรวมถึง เวียดนามด้วย นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังแสดงความสนใจข้าวจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เวียดนาม
กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม ระบุว่าในระยะยาวเวียดนามวางแผนที่จะเปลี่ยนจากการ เพาะปลูกข้าวมาเป็นพืชชนิดอื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า นอกจากนี้ ยังกำหนดเป้าหมายที่จะขยายตลาดส่งออก
ไปยังแอฟริกา และตะวันออกกลาง รวมถึงตลาดระดับภูมิภาค เช่น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
เมียนมาร์
สมาพันธ์ข้าวแห่งเมียนมาร์ (Myanmar Rice Federation; MRF) รายงานว่า ในช่วง 11 เดือน (1 ตุลาคม 2561-31 สิงหาคม 2562) ของปีงบประมาณปัจจุบัน (ตุลาคม 2561-กันยายน 2562) เมียนมาร์ส่งออกข้าว (ข้าวสารและข้าวหัก) ประมาณ 2.29 ล้านตัน มูลค่า 691 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งชนิดข้าวที่มีการส่งออก ประกอบด้วย ข้าวสาร 1.792 ล้านตัน มูลค่า 559.894 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่งไปยัง 65 ประเทศ และข้าวหัก ประมาณ 498,000 ตัน มูลค่า 132.139 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่งไปยัง 41 ประเทศ
ทั้งนี้ เมียนมาร์ส่งออกข้าวผ่านทางท่าเรือ ประมาณร้อยละ 73 โดยมีมูลค่าส่งออกทั้งข้าวสารและข้าวหักผ่านทางท่าเรือประมาณ 503.859 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการส่งข้าวผ่านทางชายแดนทางตอนเหนือของประเทศ ไปยังประเทศจีน มีมูลค่าประมาณ 187.174 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สำหรับประเทศที่นำเข้าข้าวนั้น เมียนมาร์ส่งออกข้าวสาร และข้าวหักไปยังประเทศจีน ประมาณ 738,500 ตัน และประมาณ 38,000 ตัน ตามลำดับ รวมคิดเป็นร้อยละ 33.88 ของการส่งออกข้าวของเมียนมาร์ทั้งหมด รองลงมาเป็นประเทศในแถบแอฟริกา (ข้าวสารและข้าวหัก) ประมาณ 554,000 ตัน ประเทศในสหภาพยุโรป (ข้าวสารและข้าวหัก) ประมาณ 481,500 ตัน ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 479,000 ตัน ส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2560/61 เมียนมาร์ส่งออกข้าวประมาณ 3.6 ล้านตัน ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 50 ปี
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
เปรู
รัฐบาลเปรูปรับราคาอ้างอิง (reference prices) และอัตราภาษีนำเข้า (additional variable duties for imports) ของสินค้าข้าว ข้าวโพด น้ำตาล และนมผง (whole milk powder) โดยในส่วนของข้าวปรับราคาอ้างอิงเป็น 528 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน และปรับอัตราภาษีนำเข้าข้าวเปลือกและข้าวสาร (The additional variable duty for paddy rice and milled rice) เป็น 59 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน และ 84 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ตามลำดับ ขณะที่ข้าวโพดปรับราคาอ้างอิงเป็น 158 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน และปรับอัตราภาษีนำเข้าเป็น 12 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน โดยราคาอ้างอิง (reference prices) ดังกล่าวมาจากการสำรวจราคาระหว่างวันที่ 1-31 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา และมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.34 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.80 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.86 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.02
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.79 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.78 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.40 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.32 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.96
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 294.00 ดอลลาร์สหรัฐ (8,860 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากตันละ 293.60 ดอลลาร์สหรัฐ (8,852 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.14 และสูงขึ้น ในรูปของเงินบาทตันละ 8 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2562/63 (ณ เดือนตุลาคม 2562) มีปริมาณ 1,125.49 ล้านตัน ลดลงจาก 1,140.53 ล้านตัน ในปี 2561/62 ร้อยละ 1.32 โดยสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และแคนาดา มีความต้องการใช้ลดลง สำหรับการค้าของโลกมี 170.84 ล้านตัน ลดลงจาก 171.03 ล้านตัน ในปี 2561/62 ร้อยละ 0.11 โดยบราซิล ยูเครน เซอร์เบีย สหภาพยุโรป ปารากวัย และแคนาดา ส่งออกลดลง ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น โคลอมเบีย แอลจีเรีย ตุรกี บราซิล และแคนาดา มีการนำเข้าลดลง
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 394.92 เซนต์ (4,753 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 388.32 เซนต์ (4,676 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.70 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 77 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 31.474 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.53 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.72 ล้านไร่ ผลผลิต 30.995 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.56 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต สูงขึ้นร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.53 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ลดลงร้อยละ 0.62 โดยเดือนตุลาคม 2562 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.55 ล้านตัน (ร้อยละ 4.92 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 17.61 ล้านตัน (ร้อยละ 55.96 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ผลผลิตยังออกสู่ตลาดไม่มากนัก สำหรับราคาหัวมันสำปะหลังสดมีแนวโน้มลดต่ำลง เนื่องจากเชื้อแป้งในหัวมันสำปะหลังต่ำประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังมีแนวโน้มลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.68 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.60
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.08 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.74 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 7.17
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.41 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.42 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.16
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.25 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,022 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (7,025 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,651 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,658 บาทต่อตัน)
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 31.474 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.53 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.72 ล้านไร่ ผลผลิต 30.995 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.56 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต สูงขึ้นร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.53 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ลดลงร้อยละ 0.62 โดยเดือนตุลาคม 2562 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.55 ล้านตัน (ร้อยละ 4.92 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 17.61 ล้านตัน (ร้อยละ 55.96 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ผลผลิตยังออกสู่ตลาดไม่มากนัก สำหรับราคาหัวมันสำปะหลังสดมีแนวโน้มลดต่ำลง เนื่องจากเชื้อแป้งในหัวมันสำปะหลังต่ำประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังมีแนวโน้มลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.67 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.68 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.60
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.08 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 4.74 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 7.17
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.41 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.42 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.16
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.25 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,022 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (7,025 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,651 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,658 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2562 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนตุลาคมจะมีประมาณ 1.241 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.223 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.133 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.204 ล้านตัน ของเดือนกันยายน คิดเป็นร้อยละ 9.53 และร้อยละ 9.31 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.87 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 2.77 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.61
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 17.06 บาท ลดลงจาก กก.ละ 17.50 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.51
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ผู้นำเข้าอินเดียกังวลข้อขัดแย้งระหว่างอินเดีย-มาเลเซีย
ผู้นำเข้าอินเดียได้ชะลอการนำเข้าน้ำมันปาล์มจากมาเลเซีย เนื่องจากรัฐบาลอินเดียไม่พอใจข้อคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีมาฮาดีร์ บิน โมฮามัด เกี่ยวกับข้อพิพาทในรัฐแคชเมียร์ ประเทศอินเดีย ผู้นำเข้าอินเดียคาดว่ารัฐบาลอินเดียอาจจะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้ามาเลเซีย จึงมีแนวโน้มที่จะนำเข้าจากอินโดนีเซียมากขึ้น
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,174.61 ดอลลาร์มาเลเซีย (16.01 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,129.02 ดอลลาร์มาเลเซีย (15.68 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.14
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 557.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17.03 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 552.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.88 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.91
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
รายงานการส่งออกน้ำตาลของอินเดีย
อินเดีย รายงานว่ารัฐบาลกลางได้กำหนดโควตาการส่งออกน้ำตาลของอินเดียไว้ที่ 6.00 ล้านตัน ในฤดูการผลิตปี 2562/2563 เพิ่มขึ้นจาก 5.00 ล้านตันของปีก่อน ร้อยละ 20.00 ซึ่งมีการส่งมอบน้ำตาล ไปแล้วประมาณ 3.50 ล้านตัน
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
จีนนำเข้าถั่วเหลืองเดือนกันยายนลดลง
จีนนำเข้าถั่วเหลืองในเดือนกันยายนลดลง 13.5% (ข้อมูลจากสำนักงานศุลกากรจีน) เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคอหิวาห์สุกรแอฟริกัน ซึ่งทำให้ความต้องการใช้อาหารสัตว์ลดลง และข้อมูลสำนักงานศุลกากรจีน ระบุว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ จีนมีการซื้อถั่วเหลือง 64.51 ล้านตัน ลดลง 7.9% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 934.0 เซนต์ (10.49 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 919.76 เซนต์ (10.34 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.55
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 306.46 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.37 บาท/กก.) สูงขึ้น จากตันละ 301.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.23 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.61
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 30.18 เซนต์ (20.33 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 29.78 เซนต์ (20.08 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.34
ยางพารา
สับปะรด
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 26.74 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 25.21
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,028.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.96 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ1,027.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 927.75 ดอลลาร์สหรัฐ (27.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 926.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 961.25 ดอลลาร์สหรัฐ (28.95 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 960.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 594.00 ดอลลาร์สหรัฐ (17.89 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 593.60 ดอลลาร์สหรัฐ (17.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,088.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.77 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,087.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.77 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 26.74 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 25.21
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,028.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.96 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ1,027.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 927.75 ดอลลาร์สหรัฐ (27.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 926.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 961.25 ดอลลาร์สหรัฐ (28.95 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 960.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 594.00 ดอลลาร์สหรัฐ (17.89 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 593.60 ดอลลาร์สหรัฐ (17.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,088.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.77 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,087.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.77 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.09 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.98 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.46 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 20.94
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.06 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.17 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 11.88
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.98 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.46 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 20.94
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.06 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.17 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 11.88
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 63.83 (กิโลกรัมละ 43.02 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 61.67 (กิโลกรัมละ 41.58 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.50 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.44 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 63.83 (กิโลกรัมละ 43.02 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 61.67 (กิโลกรัมละ 41.58 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.50 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.44 บาท
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,759 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,782 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.29
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,401 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,421 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.41
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 779 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 846 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.92
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะตลาดสุกรค่อนข้างเงียบเหงาไม่ค่อยคึกคัก เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรมีไม่มากนัก ขณะที่ผลผลิตออกสู่ตลาดในภาวะปกติ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 60.78 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 62.02 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.00 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 57.81 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 62.02 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 60.38 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 65.64 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,300 บาท (บวกลบ 54 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.83
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะตลาดสุกรค่อนข้างเงียบเหงาไม่ค่อยคึกคัก เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรมีไม่มากนัก ขณะที่ผลผลิตออกสู่ตลาดในภาวะปกติ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 60.78 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 62.02 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.00 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 57.81 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 62.02 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 60.38 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 65.64 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,300 บาท (บวกลบ 54 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.83
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่มีไม่มากนัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.81 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.78 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.66 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.72 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่มีไม่มากนัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.81 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.78 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.66 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.72 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ภาวะตลาดไข่ไก่ค่อนข้างคึกคัก ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าตลาดหลักของไข่ไก่คือสถานศึกษาปิดภาคเรียนคาดว่าความต้องการบริโภคจะมีไม่มากนัก แต่เนื่องจากไข่ไก่เป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ราคาไม่แพงมากนัก ส่งผลให้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ยังคงอยู่ในระดับสูง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 294 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 288 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 287 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 283 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 297 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 331 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สัปดาห์นี้ภาวะตลาดไข่ไก่ค่อนข้างคึกคัก ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ว่าตลาดหลักของไข่ไก่คือสถานศึกษาปิดภาคเรียนคาดว่าความต้องการบริโภคจะมีไม่มากนัก แต่เนื่องจากไข่ไก่เป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ราคาไม่แพงมากนัก ส่งผลให้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ยังคงอยู่ในระดับสูง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 294 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 288 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.08 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 287 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 283 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 297 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 331 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 329 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 326 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.92 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 337 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 311 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 329 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 326 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.92 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 337 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 311 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 87.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.65 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.29 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.64 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 87.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.65 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.29 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.64 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.35 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.35 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.55 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.26 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.35 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.35 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.55 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.26 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
ตารางประมง ราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี(ประมง)